รบพิเศษ : หลักสูตรคนกล้า |
รบพิเศษ คือการรบที่พลิกแพลงโดยใช้ยุทธวิธี มีการจู่โจมโดยมิให้ข้าศึกได้ตั้งตัว การฝึกฝนในการใช้อาวุธและยุทโธปกรณ์จนเชี่ยวชาญ ฝึกให้สภาพร่างกายทนทานและคล่องตัว โดยหัวใจหลักของรบพิเศษคือ "กำลังรบขนาดเล็ก ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ และไม่ให้ข้าศึกรู้ตัว" หน่วยรบพิเศษในโลกนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยในสมัยก่อนจะมีการฝึกกองกำลังพิเศษไว้เพื่อเป็นองค์รักษ์ของพระมหากษัตริย์ และบุคคลสำคัญทั้งในเอเชีย และยุโรป ซึ่งผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะถูกฝึกอย่างหนัก จนเชี่ยวชาญการรบเป็นพิเศษ แต่ถ้าจะนับถึงหน่วยรบในรูปแบบของการรบพิเศษที่เป็นต้นกำเนิดของการรบพิเศษปัจจุบันแล้วต้องนึกถึงอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา โดยอังกฤษเป็นประเทศแรก ๆ ที่พัฒนาหน่วยรบให้มีทักษะการรบที่แตกต่างจากทหารโดยทั่วไป ใช้การรบที่ให้ทหารมีความคล่องตัวสูง สามารถพรางตัวเข้ากับภูมิประเทศ การโจมตีฉาบฉวย การใช้กับดัก โดยยุคแรก ๆ ที่ทำให้หน่วยรบพิเศษมีชื่อเสียงก็คือสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อมาก็คือสงครามเวียดนาม |
ที่มาของภาพ : หนังสือหลักสูตรคนกล้ารบพิเศษ หน้า 48 |
สงครามโลกครั้งที่ 2 มีหน่วยรบพิเศษถือกำเนิดขึ้นหลายหน่วย และสร้างผลงานอันมีชื่อเสียงไว้อีกหลายครั้งโดยอเมริกามีหน่วยพลร่ม( Airborn ) เข้าก่อวินาศกรรมทำลายแนวหลังข้าศึกที่หาดนอร์มังดี ในวันดีเดย์( 6 มิถุนายน 2487 ) ซึ่งต่อมาเราก็รู้จักในนามพลร่มที่ 101 และ พลร่มที่ 82 และยังมีมนุษย์กบ( Frogman )เข้าสำรวจและทำลายทุ่นระเบิดหน้าหาดเพื่อเปิดทางให้เรือยกพลขึ้นบก โดยภายหลังได้พัฒนาเป็นหน่วย UDT หรือ SEAL รวมทั้งส่งหน่วยแรนเจอร์( Ranger )เข้าตีบริเวณชายหาดอีกด้วย ส่วนอังกฤษก็ส่งทหารหน่วยคอมมานโด( British Royal Marine Commandos )เข้ามาร่วมรบในครั้งนี้ ซึ่งทางฝ่ายเยอรมันเองก็มีหน่วยทหารรบพิเศษที่เรียกสั้น ๆ ว่า SS ที่ทำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงได้มีหน่วยรบพิเศษถือกำเนิดขึ้นมากมายที่ถูกพัฒนาขึ้นจนเป็นกำลังรบหลัก เพื่อใช้ในการรบในยุทธภูมิต่าง ๆ หลายครั้ง แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงได้ไม่นานก็เริ่มมีผู้ก่อการร้ายเกิดขึ้นในหลายประเทศ มาทั้งในรูปแบบแกงค์โจร ยากูซ่า หรือขบวนการแบ่งแยกดินแดน จึงมีการปรับหน่วยรบพิเศษขึ้นมาเพื่อปราบปรามและทำการรบกับกองกำลังเหล่านี้ หน่วยรบพิเศษจึงถูกปรับรูปแบบให้พัฒนาเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายทุกรูปแบบ |
ที่มาของภาพ : หนังสือหลักสูตรคนกล้ารบพิเศษ หน้า 23 |
สงครามเวียดนามเหล่าชาติตะวันตกทั้งหลายได้รู้ซึ้งถึงยุทธวิธีการรบที่ไร้รูปแบบของทหารเวียดกง กองกำลังจำนวนมากถูกส่งลงไปเพื่อจัดการกับทหารเวียดกงแต่ก็ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จนัก เพราะถ้าจะบอกว่ายุทธวิธีของทหารเวียดกงนั้นก็เป็นวิธีการรบแบบรบพิเศษก็คงไม่ผิดนัก เพราะทหารเวียดกงนั้นทำการรบแบบกองโจร ตีฉาบฉวย ใช้กับดัก ซุ่มโจมตี และระเบิดพลีชีพ โดยหลังจากสงครามเวียดนามจบลงทำให้สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสและพันธมิตรได้รับบทเรียนราคาแพงของการรบพิเศษ |
ปัจจุบันหน่วยรบพิเศษของประเทศมหาอำนาจเข้ามามีบทบาทสำคัญในการรบ และการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นอย่างมาก โดยอเมริกาเองมีหน่วยรบที่มีชื่ออยู่หลายหน่วยเช่น UDT/SEAL (Underwater Demolition / Sea-Air-LAnd Team: USMC) , US Army Specail Force (Green Berets), Ranger, Delta Force และ Airborn ส่วนอังกฤษก็มีหน่วย SAS (The British Special Air Service Regiment) และเยอรมันมีหน่วย GSG เรื่องราวของหน่วยรบพิเศษจำนวนมากถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนต์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยคอมมานโดหน่วยรบพิเศษที่จู่โจมอย่างรวดเร็ว(Comandos), ซีลหน่วยทำลายและจู่โจมใต้น้ำ(SEAL), รีคอนหน่วยลาดตระเวนทางน้ำและชายฝั่ง(RECON), แรนเจอร์ทหารราบรบพิเศษผู้ห้าวหาญบุกตะลุยไปข้างหน้า(RANGER), สไนเปอร์หรือพลซุ่มยิงผู้ปลิดชีพข้าศึกด้วยความเฉียบขาดและรวดเร็ว(Sniper), พลร่มหน่วยรบที่แทรกซึมไปทุกพื้นที่(Airborn) |
ที่มาของภาพ : หนังสือหลักสูตรคนกล้ารบพิเศษ หน้า 77 |
หน่วยรบพิเศษของไทย เกิดขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมได้รับความช่วยเหลือจากอเมริกา โดยมีการประชุมหารือกันแล้วเห็นว่ากองทัพเรือควรเป็นผู้รับผิดชอบในการฝึกหน่วยสงครามพิเศษ (ปี 2495) และต่อมากองทัพเรือได้ส่งทหารจำนวนหนึ่งไปฝึกหลักสูตร UDT/SEAL โดยใช้เวลาประมาณ 60 วัน (ปี 2496) จนกระทั่งปี 2499 จึงได้มีการจัดตั้งหลักสูตรการฝึกและตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำขึ้น และได้พัฒนาจนเป็นหน่วยสงครามพิเศษของกองทัพเรือในเวลาต่อมา จึงถือได้ว่ารบพิเศษหน่วยแรกของกองทัพไทยได้ถูกจัดตั้งที่กองทัพเรือ |
ที่มาของภาพ : หนังสือหลักสูตรคนกล้ารบพิเศษ
หน้า 78 |
ที่มาของภาพ : หนังสือหลักสูตรคนกล้ารบพิเศษ
หน้า 80 |